บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก สิงหาคม, 2018

โกงกางใบเล็ก

รูปภาพ
โกงกางใบเล็ก โกงกางใบเล็ก โกงกางใบเล็ก ชื่อวิทยาศาสตร์ Rhizophora apiculata Blume ( ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Rhizophora candelaria DC.) จัดอยู่ในวงศ์โกงกาง ( RHIZOPHORACEAE) เช่นเดียวกับโกงกางใบใหญ่ สมุนไพรโกงกางใบเล็ก มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า โกงกาง (ระนอง) , พังกาทราย (กระบี่) , พังกาใบเล็ก (พังงา) , โกงกางใบเล็ก (ภาคกลาง) เป็นต้น ต้นโกงกางใบเล็ก เป็นไม้ที่มักขึ้นในดินเลนค่อนข้างอ่อนและมีน้ำทะเลท่วมถึงแบบสม่ำเสมอ บริเวณชายฝั่ง ริมคลอง และริมแม่น้ำที่มีน้ำทะเลท่วมถึง และมักจะขึ้นอยู่ตามบริเวณด้านนอกของป่าชายเลน ซึ่งการกระจายพันธุ์ก็จะแตกต่างกันออกไปในแต่ละพื้นที่ เช่น ที่อำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา จะพบขึ้นกระจายทั่วไปถัดจากกลุ่มไม้ลำแพน ส่วนป่าชายเลนในท้องที่อำเภอเขาสมิง จังหวัดตราด มักจะพบขึ้นอยู่ลึกเข้าไปจากขอบป่าหลังเขตแนวของไม้แสมและไม้ลำพู เป็นต้น นอกจากนี้ยังสามารถพบต้นโกงกางใบเล็กได้ในบริเวณริมฝั่งของเขาหินปูน หิวควอร์ตไซต์ และเขาหินเชลอีกด้วย โดยมีเขตการกระจายพันธุ์อยู่ในประเทศอินเดีย ศรีลังกา ทางเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และทางตอนเหนือของประเทศออสเตรเลี...

โกงกางใบใหญ่

รูปภาพ
โกงกางใบใหญ่    โกงกางใบใหญ่ โกงกางใบใหญ่ ชื่อสามัญ Red mangrove, Asiatisk mangrove, Loop-root mangrove โกงกางใบใหญ่ ชื่อวิทยาศาสตร์ Rhizophora mucronata Lam. จัดอยู่ในวงศ์โกงกาง ( RHIZOPHORACEAE) เช่นเดียวกับโกงกางใบเล็ก สมุนไพรโกงกางใบใหญ่ มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า กงเกง (นครปฐม) , กงกางนอก โกงกางนอก (เพชรบุรี) , กงกอน (เพชรบุรี , ชุมพร) , ลาน (กระบี่) , โกงกางใบใหญ่ (ภาคกลาง) , กางเกง พังกา พังกาใบใหญ่ (ภาคใต้) เป็นต้น ลักษณะของโกงกางใบใหญ่ ต้นโกงกางใบใหญ่ เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ มีความสูงประมาณ 20-30 เมตร (บ้างก็ว่าสูงประมาณ 30-40 เมตร) มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเหนือคอ ราก เมื่อโตเต็มที่ประมาณ 30 เซนติเมตร ลำต้นมีลักษณะเปลาตรง ด้านรับแสงจะมีกิ่งก้านมาก เปลือกลำต้นเป็นสีน้ำตาลเทา เปลือกต้นค่อนข้างเรียบหรือแตกเป็นร่องตื้น ๆ ส่วนเปลือกในเป็นสีส้ม ในกระพี้เป็นสีเหลืองอ่อน และแก่นเป็นสีน้ำตาล ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้ฝักโดยตรง โดยใช้ฝักแก่ที่ยังสมบูรณ์ ไม่มีโรคและแมลงเข้ามาทำลาย โดยดูได้จากบริเวณรอยต่อของฝักกับผลจะมีปลอกสีขาวอมเหล...